คำนวณและออกแบบกรรมวิธีการผลิตโดยการใช้เครื่องจักรและการใช้อุปกรณ์และยังคำนวณและออกแบบระบบมาตรการความปลอดภัยและการกำจัดของเสีย ดูแลควบคุมสายงานการผลิตและการบรรจุอาหารด้วย
โอกาสการมีงานทำ / ความต้องการของตลาด / แนวโน้มความต้องการตลาด
ในปัจจุบันสถาบันการศึกษายังไม่สามารถผลิตบัณฑิตในสายวิศวกรรมอาหาร ได้ในจำนวนที่เพียงพอกับความต้องการของตลาด เพราะมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งที่เปิดสอนสาขานี้สามารถผลิตบุคลากรได้เพียงไม่ เกินปีละ 20 คน ขณะที่รัฐบาลต้องการให้ไทยก้าวไปสู่การเป็นแหล่งผลิตอาหารของประชาคม โลก วิศวกรอาหารจึงจำเป็นต่อวงการอุตสาหกรรมอาหาร โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการออกแบบ และผลิตเครื่องจักรที่เหมาะสมต่อสภาวะแวดล้อมและมีราคาต้นทุนที่ยอมรับได้ ตลอดทั้งมีขนาดที่สอดคล้องกับการผลิตสินค้าต่างๆ ทั้งในส่วนของชุมชน และโรงงานอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ เพื่อทดแทนการนำเข้าเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีราคาแพง เช่น เครื่องกลั่นสุราแช่ขนาดเล็ก เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ เครื่องมือและอุปกรณ์การผลิตไวน์ เป็นต้น
วิศวกรด้านอาหารที่เป็นเพศชาย จะเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานมาก เนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ มักกระจายอยู่ทั่วภูมิภาค ดังนั้น ผู้สนใจประกอบอาชีพนี้จึงมีโอกาสเลือกที่จะเข้าทำงานในสถานประกอบกิจการแต่ ละแห่งได้ อาทิ โรงงานผลิตอาหารกระป๋อง โรงงานอาหารแช่เยือกแข็ง โรงงานอุตสาหกรรมเฉพาะทาง ประเภทผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ โรงงานผัก ผลไม้ โรงงานขนมปัง และอาหารขบเคี้ยว ต่างๆ เป็นต้น
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
– สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจนถึงระดับปริญญาโท คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอาหาร หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
– ควรมีความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์เครื่องจักรต่างๆ ตามความต้องการของนักวิทยาศาสตร์การอาหาร หรือผู้ประกอบการโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะ สม
– รู้เรื่องวัสดุต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตเครื่องจักร ตลอดทั้งแหล่งที่มาของวัสดุ
– มีความรู้เรื่องการจัดทำงบประมาณค่าใช้จ่าย
– เป็นผู้มีความรับผิดชอบสูง
– เป็นผู้มีปฏิภาณไหวพริบดี มีลักษณะเป็นผู้นำ และมีความเป็นผู้ตามที่ดี
– มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ
– ควรมีความรู้ในเรื่องระบบมาตรฐานการให้บริการ (ISO 9001) ระบบคุณภาพตามหลักเกณฑ์และวิธีการผลิตอาหาร ในโรงงานผลิตอาหาร (GMP) ระบบหลักการวิเคราะห์อันตรายและควบคุมจุดวิกฤติ (HACCP) และมาตรฐานการผลิตต่างๆ ขององค์การอนามัยโลก และองค์การการค้าโลก