ทำการทดสอบและเพาะเมล็ดพืชในพื้นที่ทดลอง ในกระบะ หรือภาชนะและนับจำนวนต้นพืชที่ปลูกเพื่อพิจารณาถึงอัตราการงอกของเมล็ดพืช
โอกาสในการมีงานทำ / ความต้องการของตลาด / แนวโน้มความต้องการตลาด
กระบวนการผลิตอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งต้องอาศัยผลิตผลทางการเกษตรเป็นวัตถุดิบ ได้มีการพัฒนาไปอย่างมากเมื่อเทียบกับระยะที่ผ่านมา ทั้งด้านประเภทการผลิตและคุณภาพของสินค้าไปสู่การผลิตที่มีความสลับซับซ้อน และมีอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อาทิ ในส่วนของการผลิตอาหารพร้อมบริโภค (Ready to Eat) มากขึ้น ทั้งนี้เป็นผลมาจากการขับเคลื่อนของอุตสาหกรรมเกษตรส่งออกที่จะต้องแข่งขันในตลาดโลก เพราะฉะนั้นขีดความสามารถในการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ซึ่งอาศัยวัตถุดิบทางการเกษตรหรือผลผลิต จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยเจ้าหน้าเทคนิคด้านการเกษตรกรรมที่เทคนิคด้านการเกษตรกรรม มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยการปรับปรุงหรือเพิ่มจำนวนและคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร เพื่อรักษาสถานะหรือยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกษตร หรือสินค้าอุตสหากรรมเกษตรส่งออก อาชีพนี้จึงเป็นอาชีพที่มีความสำคัญ และยังมีแนวโน้มเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
– สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาเกษตรศาสตร์ สาขาเกษตรและเทคโนโลยี สาขาพืชศาสตร์ สาขาสัตวศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
– มีความรู้ในวิชาชีพเกษตรกรรม และสามารถปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานเกษตรได้ในทุกๆ ด้าน
– สามารถอธิบายและถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย
– รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
– มนุษยสัมพันธ์ดี มีความละเอียดรอบคอบในการทำงาน