นำตัวอย่างวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปแล้วไปทำการทดสอบเพื่อหาสิ่งเจือปน สิ่งผิดปกติหรือวัดหาค่าต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานของอาหารแต่ละประเภท เช่น วัดสารตกค้าง วัดหาค่าจุลินทรีย์ สิ่งเจือปน เป็นต้น
ตรวจสอบดูกระบวนการผลิตเพื่อหาข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น ให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงแก้ไข
โอกาสการมีงานทำ / ความต้องการของตลาด / แนวโน้มความต้องการตลาด
ปัจจุบันการค้าระหว่างประเทศมีความเสรีมากขึ้น กฎเกณฑ์การค้าโลกหันมาให้ความสำคัญกับสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดให้เป็นมาตรฐานในการผลิตสินค้าอาหารเพื่อการส่งออก การกำหนดมาตรฐาน ปริมาณสารตกค้างในสินค้าอาหารประเภทต่างๆ ซึ่งที่ ผ่านมารัฐบาลได้ให้ความสำคัญ และได้กำหนดนโยบายด้านสุขอนามัยสิ่งแวดล้อม นโยบายความปลอดภัยด้านอาหาร และการกำหนดยุทธศาสตร์ให้ประเทศไทยเป็นครัวของโลก เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันที่มีความยั่งยืน ดังนั้นอาชีพนี้ซึ่งเป็นอาชีพที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับความปลอดภัยด้านอาหาร จึงเป็นอาชีพที่มีความสำคัญและมีแนวโน้มความต้องการสูง
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
– สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า หรือสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการอาหาร ,เทคโนโลยีชีวภาพ, จุลชีววิทยา, เทคโนโลยีการอาหารและโภชนาการ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
– ควรมีความรู้เกี่ยวกับระบบคุณภาพตามหลักเกณฑ์และวิธีการผลิตอาหาร ในโรงงานผลิตอาหาร (GMP) ระบบหลักการวิเคราะห์อันตรายและควบคุมจุดวิกฤติ (HACCP)
– เป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง หูรับฟังได้ดี ตาไม่บอดสี มือและสมองสามารถทำงานสัมพันธ์กันได้ตลอดเวลา
– ควรมีความละเอียด รอบคอบ คล่องแคล่ว ว่องไว ช่างสังเกต อดทน ขยันหมั่นเพียร มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ชอบคิดคำนวณ มั่นใจในตนเอง สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
– มีเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ ซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัย